บันเทิง
พระเอกคางบุ๋ม ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’ เผยสาเหตุหาย
พระเอกคางบุ๋ม ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’ เผยสาเหตุหายหน้า
หากย้อนกลับไปในช่วงเกือบ 50-60 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่วงการภาพยนตร์ไทยได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จนทำให้มีดารา
พระเอก-นางเอก หน้าใหม่มากมายในช่วงราวๆปี พ.ศ. 2500 และสำหรับ ‘หน่อย อนันต์ สัมมาทรัพย์’ ก็เป็นอีกหนึ่งคน
ที่ได้มีโอกาสเข้ามาสู่วงการบันเทิง-ภาพยนตร์ไทยในช่วงหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบัน ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’
ในวัยใกล้ 80 ปี อาศัยอยู่ที่เมืองซานฟานซิสโก สหรัฐอเมริกา กับครอบครัวและยังไม่มีวี่แววว่าจะกลับมาเมืองไทยแต่อย่างใด
ด้วยสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และสำหรับชีวิตในวงการบันเทิงของ ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’ เป็นพระเอกรุ่นๆ เดียวกันกับ
‘อัศวิน รัตนประชา, ยอดชาย เมฆสุวรรณ’ และอีกมากมาย ทั้งนี้ทางด้านชีวิตส่วนตัวของ ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’ มีชื่อเล่นว่า
‘หน่อย’ ตอนเข้าวงการนั้นเขาเป็นเจ้าของส่วน สูง 177 ซ.ม. น้ำหนัก 73 ก.ก. พื้นเพเป็นชาวกรุงเทพมหานคร แต่ไปเติบโต
อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’ เป็นบุตรชายคนโตของ ‘คุณพ่อประมวลกับคุณแม่จรัส สัมมาทรัพย์’ ในสมัยยังเป็นวัยรุ่น
เขาชื่นชอบกีฬาวิ่งมาก และสมัยเรียน ป.1 จนจบม.ศ.5 ที่ปรินส์รอยัลวิทยาลัย ก็เป็นนักกีฬาประจำโรงเรียนเมื่อโตขึ้นคือการแข่งรถ
จักรยานยนต์ และรถยนต์ อนันต์เคยแข่งแรลลี่รุ่นเดียวกับ ‘ปรีดา จุลละมณฑล’ ทั้งนี้ดีกรีการศึกษา ของ ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’
ก็ไม่ธรรมดา เพราะเขาสามารถสอบจบ ม.8 ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยและสอบติดคณะวิศวะของ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัยมาแล้ว แต่ด้วยช่วงอายุวัย
ทำให้เขาเรียนได้เพียงแค่ 2 ปี ก็มีเหตุจำเป็นต้องออกจากการเรียนกลางคัน ทั้งนี้หลังจากเรียนไม่จบ ‘อนันต์ สัมมาทรัพย์’ ได้มีโอกาสไปทำงาน
เป็นพนักงานของโรงงานฝรั่ง มีหัวหน้างานเป็นชาวอเมริกันและอังกฤษ อยู่ที่สัตหีบ ได้ประมาณ 2-5 ปี ในช่วงที่ทำงานอยู่ได้ไปเตะตาเข้ากับ
‘สมชาย นิลวรรณ’ แมวมองชื่อดังในสมัยได้ทาบทามเขาไปเล่นหนังทีวีอยู่หลายเรื่อง เช่น ‘หุ่นไล่กา คู่กับพันทิพา บุญแก้ว, เมืองลับแล คู่กับปริม ประภาพร’
จากการเป็นบทพระรองอยู่หลายเรื่อง ‘ล้อต๊อก’ ผู้กำกับฝีมือดีก็ชักชวนให้เขาไปเล่นเป็นบทพระเอก ‘เรื่อง ไอ้แดง’ คู่กับเพชรา หนังไม่ประสบความสำเร็จ
แต่อนันต์ก็มีหนังเล่นต่อมาอีกหลายเรื่องในบทสมทบ เช่น ‘นี่หรือชีวิต พ.ศ. 2516 , คุณหญิงนอกทำเนียบ พ.ศ. 2517, กราบที่ดวงใจ, ตะวันลับฟ้า พ.ศ. 2518, ไก่หลง พ.ศ. 2519 ฯลฯ’
